ละอองลอย ตอนที่ 2
นอกจากนี้ละอองลอยสามารถจำแนกตามกระบวนการเกิดได้เป็น
- ละอองลอยปฐมภูมิ (primary aerosol ) เป็นละอองลอยที่ปล่อยจากแหล่งกำเนิดไปยังชั้นบรรยากาศโดยตรง ไม่มีการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี
- ละอองลอยทุติยภูมิ (secondary aerosol ) เป็นละอองลอยที่เกิดจากการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงการจำแนกละอองละลอย
ธรรมชาติ (Natural) | กิจกรรมมนุษย์ (Anthropogenic) |
ปฐมภูมิ– แร่ (mineral aerosol) – เกลือทะเล (sea salt) – ฝุ่นจากภูเขาไฟ (volcanic dust) – ละอองลอยสารอินทรีย์ (organic aerosols) |
ปฐมภูมิ– ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม (industrial dust) – เขม่า (soot) – การเผาไหม้ชีวมวล (biomass burning) |
ทุติยภูมิ– ซัลเฟตจากการเผาไหม้ชีวมวล (sulfates from biogenic gases) – ซัลเฟตจากภูเขาไฟ (sulfates from volcanic) |
ทุติยภูมิ– ซัลเฟตจาก SO2 – ละอองลอยอินทรีย์ที่เกิดจาก VOCs – ไนเตรดจาก NOx |
ปริมาณความเข้มข้นของละอองลอยในบรรยากาศแปรผันกับพื้นที่และเวลาเป็นอย่างมาก มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงประเภทที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น พายุฝุ่นขนาดใหญ่ และภูเขาไฟระเบิด ละอองลอยสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สามารถเคลื่อนที่ข้ามมหาสมุทร และเทือกเขาต่างๆ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ท้องฟ้าในหลายๆ พื้นที่บนโลกนี้ฝ้ามัวกว่าเมื่อหนึ่งร้อยหรือสองร้อยปีก่อนแม้แต่ท้องฟ้าในเขตชนบท
ละอองลอยมีอิทธิพลต่อสภาพอากาศและภูมิอากาศ เพราะส่งผลต่อปริมาณแสงอาทิตย์ที่ส่องมาถึงพื้นผิวโลก ละอองลอยจากการระเบิดของภูเขาไฟที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์สามารถเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวโลกเป็นเวลาหลายปีสืบเนื่องจากการระเบิดแต่ละครั้ง การเผาไหม้ชีวมวลเป็นสาเหตุทำให้ความเข้มข้นของละอองลอยในท้องฟ้าท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในภูมิภาค เมื่อนำมารวมกับการตรวจวัดบรรยากาศอื่นๆ การตรวจวัดละอองลอยช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจและพยากรณ์สภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น และยังจะนำไปสู่การเพิ่มความเข้าใจปรากฏการณ์ทางเคมีของบรรยากาศอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผลต่อสุขภาพ กล่าวคือ อนุภาคมีขนาดเล็กจะสามารถผ่านเข้าไปยังระบบทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุของสารพิษที่ไปสะสมอยู่ในหลอดลม ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หรือถ้าเป็นสารพิษอาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด